ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
goodgut
สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ในโลกที่สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญพื้นฐาน การให้ความใส่ใจกับอวัยวะที่สำคัญของร่างกายของเราซึ่งก็คือระบบย่อยอาหารเป็นสิ่งสำคัญ สุขภาพระบบทางเดินอาหารไม่ใช้แค่เรื่องการหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายท้องเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบที่สําคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมของเราอีกด้วย

ระบบย่อยอาหารเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนของอวัยวะ เนื้อเยื่อ และจุลินทรีย์ที่ทํางานร่วมกันเพื่อย่อยอาหารที่เราบริโภค สกัดสารอาหารที่จําเป็นและกําจัดสิ่งตกค้าง (1) เมื่อระบบของเราทํางานอย่างถูกต้อง เราจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา และมีความสุข โดยได้รับการพิสูจน์จากการศึกษาวิจัยต่าง ๆ ซึ่งพบว่าสุขภาพระบบทางเดินอาหารที่ดีไม่เพียงแต่มีความสําคัญต่อความสุขสบายทางกายเท่านั้น แต่ยังมีความสําคัญต่อสุขภาวะทางอารมณ์ สุขภาพจิต และแม้แต่ระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย (2–4)

ในสังคมปัจจุบันของเรา ปัญหาระบบทางเดินอาหารนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก และมีอาการที่หลากหลาย เช่น อาการท้องเสียและ/หรืออาการท้องผูก การมีแก๊สในกระเพาะอาหาร การย่อยอาหารหนัก และท้องอืด เป็นต้น (5) จากรายงานขององค์กร United European Gastroenterology (UEG)(6) คาดว่ามีประชากรมากกว่า 332 ล้านคนที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหารในภูมิภาคยุโรป  
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการใช้ชีวิตกับอาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างมีนัยสําคัญ และรบกวนการทำกิจวัตรประจําวัน การทํางาน ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และสุขภาวะทางอารมณ์ของผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว (7,8)

goodgut health

ในบริบทนี้ จุลินทรีย์ในลําไส้ ซึ่งหมายถึงชุมชนจุลินทรีย์ที่อยู่ในทางเดินอาหาร (9) ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา การทําความเข้าใจความเกี่ยวข้องของจุลินทรีย์และความสัมพันธ์กับสุขภาพระบบทางเดินอาหารได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและได้กลายเป็นขอบเขตการวิจัยที่กําลังดําเนินอยู่และขยายออกไปเรื่อย ๆ

จุลินทรีย์ในลําไส้มีบทบาทสําคัญในการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร การเผาผลาญ การผลิตวิตามินและสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมทั้งการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันด้วยการป้องกันเชื้อโรค (3,10) นอกจากนี้ ยังทําปฏิกิริยากับระบบประสาทผ่านการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสมองและลำไส้ (gut-brain axis) ซึ่งมีอิทธิพลต่ออารมณ์ พฤติกรรม และการทํางานของสมอง (11)

การรบกวนชุมชนจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารเรียกว่า ภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (dysbiosis) ความไม่สมดุลนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อาหาร รูปแบบการดําเนินชีวิต ความเครียด การใช้ยา (เช่น ยาปฏิชีวนะ) และภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เมื่อเกิดภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ขึ้น จะทำให้เกิดการหยุดชะงักในองค์ประกอบปกติของจุลินทรีย์ในลําไส้ ซึ่งมักนําไปสู่การเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและการลดลงของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (12,13)

ผลที่ตามมาของภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการและความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (14) การศึกษาวิจัยหลายโครงการชี้ให้เห็นว่าภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสัมพันธ์กับโรคลําไส้อักเสบเรื้อรัง (เช่น โรคโครห์นและโรคลําไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล), โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome, IBS), ภูมิแพ้, โรคอ้วน นอกจากนี้ยังมีโรคที่ไม่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารมากมาย เช่น ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม, โรคที่เกิดจากการอักเสบ, ความผิดปกติทางจิตประสาท และโรคแพ้ภูมิตนเอง (15–21)

การรับรู้ถึงความเกี่ยวข้องของจุลินทรีย์ในลําไส้ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบทางเดินอาหาร และได้ชี้แจงถึงศักยภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ในฐานะที่เป็นแหล่งกักเก็บไบโอมาร์กเกอร์ที่เหมาะสมในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

goodgut health

ในแง่นี้ จุลินทรีย์ในลําไส้ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สุขภาพระบบทางเดินอาหาร และถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการให้ภาพรวมที่สมบูรณ์เกี่ยวกับสุขภาพระบบทางเดินอาหารของทุกคน ช่วยให้เราสามารถทำการตัดสินใจที่มีข้อมูลเฉพาะบุคคลและมีประสิทธิภาพเพื่อปรับปรุงสุขภาพลำไส้และสุขภาวะโดยรวมให้ดีขึ้นได้ องค์ประกอบและความหลากหลายของจุลินทรีย์สามารถให้นัยที่สําคัญเกี่ยวกับสถานะของระบบย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมของเราได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทําให้สามารถสำรวจองค์ประกอบและหน้าที่ของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้มากขึ้น และตระหนักถึงบทบาทพื้นฐานของจุลินทรีย์ในลำไส้ต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหาร และความสำคัญของการรักษาสมดุลของระบบนิเวศนี้มากขึ้น(22–24)

ดังนั้น การจัดการกับภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้จึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการฟื้นฟูสมดุลของระบบทางเดินอาหารและส่งเสริมสุขภาพโดยรวม 

goodgut

GoodGut เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท HIPRA ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันการวินิจฉัยและการรักษาที่ไม่รุกล้ำร่างกายสําหรับโรคระบบทางเดินอาหารตามจุลินทรีย์ในลําไส้

โดยการระบุลักษณะเฉพาะของจุลินทรีย์ที่เฉพาะเจาะจงของโรคระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ และด้วยวิธี PCR เชิงปริมาณ GoodGut ได้พัฒนาการทดสอบจุลินทรีย์ในอุจจาระที่ไม่รุกล้ำร่างกาย 3 การทดสอบ*:

  • สำหรับการป้องกันและปรับปรุงสุขภาพของลําไส้ให้ดีขึ้นผ่านการวินิจฉัยภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
  • สำหรับการวินิจฉัยโรคลําไส้แปรปรวนในเชิงบวก
  • สําหรับการตรวจหาโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก

GoodGut มีเป้าหมายที่จะแนะนําจุลินทรีย์ในลำไส้ให้เป็นมาตรฐานทางคลินิกใหม่ในการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคดังกล่าว และเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพในปัจจุบันด้วยโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมและมีผลกระทบสูง

goodgut hipra

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่

*จำเป็นต้องทำการตรวจเหล่านี้ก่อนที่จะได้รับการจ่ายยา

ข้อมูลอ้างอิง

1.    National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Disease. Your Digestive System & How it Works [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 24 พฤษภาคม 2024]. ข้อมูลจาก: https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/digestive-system-how-it-works
2.    Appleton J. The Gut-Brain Axis: Influence of Microbiota on Mood and Mental Health. Integr Med Encinitas Calif. 2018 Aug;17(4):28–32. 
3.    Hou K, Wu ZX, Chen XY, Wang JQ, Zhang D, Xiao C, et al. Microbiota in health and diseases. Signal Transduct Target Ther. 2022 Apr 23;7(1):135. 
4.    Winter G, Hart RA, Charlesworth RPG, Sharpley CF. Gut microbiome and depression: what we know and what we need to know. Rev Neurosci. 2018 Aug 28;29(6):629–43. 
5.    American College of Gastroenterology. Common Gastrointestinal (GI) Symptoms [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 24 พฤษภาคม 2024]. Available from: https://gi.org/topics/common-gi-symptoms/
6.    The Lancet Gastroenterology & Hepatology. Tackling the burden of digestive disorders in Europe. Lancet Gastroenterol Hepatol. 2023 Feb;8(2):95. 
7.    Tielemans MM, Jaspers Focks J, Van Rossum LGM, Eikendal T, Jansen JBMJ, Laheij RJF, et al. Gastrointestinal Symptoms are Still Prevalent and Negatively Impact Health-Related Quality of Life: A Large Cross-Sectional Population Based Study in The Netherlands. Baradaran HR, editor. PLoS ONE. 2013 Jul 29;8(7):e69876. 
8.    Black CJ, Drossman DA, Talley NJ, Ruddy J, Ford AC. Functional gastrointestinal disorders: advances in understanding and management. The Lancet. 2020 Nov;396(10263):1664–74. 
9.    Thursby E, Juge N. Introduction to the human gut microbiota. Biochem J. 2017 Jun 1;474(11):1823–36. 
10.    Jandhyala SM, Talukdar R, Subramanyam C, Vuyyuru H, Sasikala M, Nageshwar Reddy D. Role of the normal gut microbiota. World J Gastroenterol. 2015 Aug 7;21(29):8787–803. 
11.    Morais LH, Schreiber HL, Mazmanian SK. The gut microbiota–brain axis in behaviour and brain disorders. Nat Rev Microbiol. 2021 Apr;19(4):241–55. 
12.    Petersen C, Round JL. Defining dysbiosis and its influence on host immunity and disease. Cell Microbiol. 2014 Jul;16(7):1024–33. 
13.    DeGruttola AK, Low D, Mizoguchi A, Mizoguchi E. Current Understanding of Dysbiosis in Disease in Human and Animal Models. Inflamm Bowel Dis. 2016 May;22(5):1137–50. 
14.    Singh R, Zogg H, Wei L, Bartlett A, Ghoshal UC, Rajender S, et al. Gut Microbial Dysbiosis in the Pathogenesis of Gastrointestinal Dysmotility and Metabolic Disorders. J Neurogastroenterol Motil. 2021 Jan 30;27(1):19–34. 
15.    Sadeghpour Heravi F. Gut Microbiota and Autoimmune Diseases: Mechanisms, Treatment, Challenges, and Future Recommendations. Curr Clin Microbiol Rep. 2024 Jan 16;11(1):18–33. 
16.    Pascal M, Perez-Gordo M, Caballero T, Escribese MM, Lopez Longo MN, Luengo O, et al. Microbiome and Allergic Diseases. Front Immunol. 2018;9:1584. 
17.    Anand N, Gorantla VR, Chidambaram SB. The Role of Gut Dysbiosis in the Pathophysiology of Neuropsychiatric Disorders. Cells. 2022 Dec 23;12(1):54. 
18.    Bandopadhyay P, Ganguly D. Gut dysbiosis and metabolic diseases. ใน: Progress in Molecular Biology and Translational Science [อินเตอร์เน็ต]. Elsevier; 2022 [สืบค้น 24 พฤษภาคม 2024]. p. 153–74. ข้อมูลจาก: https://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S187711732200093X
19.    Santana PT, Rosas SLB, Ribeiro BE, Marinho Y, de Souza HSP. Dysbiosis in Inflammatory Bowel Disease: Pathogenic Role and Potential Therapeutic Targets. Int J Mol Sci. 2022 Mar 23;23(7):3464. 
20.    Kim GH, Lee K, Shim JO. Gut Bacterial Dysbiosis in Irritable Bowel Syndrome: a Case-Control Study and a Cross-Cohort Analysis Using Publicly Available Data Sets. Jacobs JL, editor. Microbiol Spectr. 2023 Feb 14;11(1):e02125-22. 
21.    Breton J, Galmiche M, Déchelotte P. Dysbiotic Gut Bacteria in Obesity: An Overview of the Metabolic Mechanisms and Therapeutic Perspectives of Next-Generation Probiotics. Microorganisms. 2022 Feb 16;10(2):452. 
22.    Guo X, Huang C, Xu J, Xu H, Liu L, Zhao H, et al. Gut Microbiota Is a Potential Biomarker in Inflammatory Bowel Disease. Front Nutr. 2021;8:818902. 
23.    Zwezerijnen-Jiwa FH, Sivov H, Paizs P, Zafeiropoulou K, Kinross J. A systematic review of microbiome-derived biomarkers for early colorectal cancer detection. Neoplasia N Y N. 2023 Feb;36:100868. 
24.    Manor O, Dai CL, Kornilov SA, Smith B, Price ND, Lovejoy JC, et al. Health and disease markers correlate with gut microbiome composition across thousands of people. Nat Commun. 2020 Oct 15;11(1):5206.